วงการกองทุนแนะได้เวลาช้อป SSF-RMF เพื่อออมระยะยาว-ลดหย่อนภาษี คาดเงินไหลเข้า พ.ย.-ธ.ค.นี้ 3.6 - 3.7 หมื่นล้านบาท แนะลุยกองทุนหุ้นเป็นหลัก ระยะยาวผลตอบแทนแจ่ม เปิดสถิติ TOP10 แต่ละประเภท แจกยีลด์แล้ว 12 - 71%
*** วงการแนะได้เวลาช้อป SSF-RMF เน้นกองหุ้นเป็นหลัก
"กิดาการ ชัฏสุวรรณ" หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) แนะนำว่า ช่วงท้ายปีควรเลือกลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อการออมระยะยาวและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยผู้ที่มีช่วงอายุ 18-45 ปี ให้เน้นซื้อ SSF ก่อน เพราะใช้ระยะเวลาถือครองเพียง 10 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปให้ซิ้อ RMF เพราะสามารถขายได้เมื่ออายุ 55 ปี
สำหรับการเลือกกองทุน SSF และ RMF ควรกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสม เน้นกองทุนตราสารทุนเป็นหลัก เพราะสถิติผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวสูงกว่าประเภทอื่น เช่น กองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย, หุ้นต่างประเทศ และหุ้นเทคโนโลยี เป็นต้น
ด้าน "สาห์รัช ชัฏสุวรรณ" ผู้อำนวยการสายการตลาด และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ คาดว่า SSF ปี 64 จะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปี 63 ที่เริ่มดำเนินการเป็นปีแรก ซึ่งยังไม่เป็นที่สนใจ และมีกองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) เป็นตัวเลือก แต่ปีนี้ไม่มี SSFX แล้ว ทำให้ SSF จะเป็นทางเลือกหลัก แม้จะมีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็ตาม เนื่องจากทั้งสองกองทุนยังมีความแตกต่างของเงื่อนไขการถือครอง
ทั้งนี้สามารถเข้าซื้อลงทุนได้เลย ไม่ต้องรอจังหวะ โดยแนะนำจัดพอร์ตเน้นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ส่วนธีมหุ้นที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่มีการเติบโตในระยะยาว 10 ปี คือ กลุ่มเทคโนโลยี, Healthcare และหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน
นอกจากนี้มองว่า ควรมีการแยกวงเงินลดหย่อนภาษีของ SSF ซึ่งปัจจุบันวงเงินถูกรวมกับ RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ทำให้วงเงินลดหย่อนลดลง เพราะปกติกลุ่มนักลงทุนของ SSF และ RMF เป็นคนละกลุ่มกัน
ขณะที่ "สุรเดช เกียรติธนากร" กรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย แนะนำให้ลงทุนกองทุน SSF และ RMF ช่วงปลายปี เพราะนอกจากเป็นการออมระยะยาว ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อยภาษีได้อีกด้วย โดยเลือกกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัว และเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่า โดยเน้นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนวัตกรรมและตามทันเทรนด์โลก ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตสูง (Growth Stock) โดยเฉพาะกลุ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อโลก ส่วนผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง สามารถเลือกลงทุนในกองทุนผสมที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล เพราะช่วยให้มีโอกาสรับผลตอบแทนระหว่างที่ลงทุน โดยกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลกทั้งเงินฝาก, ตราสารหนี้ และหุ้น
*** คาดเงินไหลเข้ากว่า 3.6-3.7 หมื่นลบ.
"อภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล" ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ ระบุว่า ขณะนี้เข้าสู่ฤดูกาลเข้าซื้อ SSF และกองทุน RMF โดยจะเริ่มเห็นเม็ดเงินไหลเข้าเดือน พ.ย.-ธ.ค.ของทุกปี คาดว่าปีนี้จะมีเงินไหลเข้า SSF ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และ RMF ประมาณ 1.6-1.7 หมื่นล้านบาท ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลออกประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท เพราะมีกองที่จะครบกำหนดถือครอง 7 ปีปฏิทินขายออกได้เป็นปีแรก
"ชญานี จึงมานนท์" นักวิเคราะห์อาวุโส บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) เผยว่า สถิติเงินไหลเข้าของกองทุน SSF และ RMF มากสุดจะอยู่ที่เดือน ธ.ค. โดยคาดว่าปีนี้ยังมีแนวโน้มเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้มีเงินไหลเข้ากองทุน SSF แล้ว 4.7 พันล้านบาท ส่วน RMF มีเงินไหลเข้า 10 เดือนรวม 7 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนทั้ง 2 ประเภท ขณะที่กองทุน LTF ปีนี้มีเงินไหลออกรวม 1.5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ปัจจุบันกองทุน RMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.65 แสนล้านบาท (รวม 271 กองทุน) เพิ่มขึ้น 10.9% จากสิ้นปี 63 มาจากการเติบโตของกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารทุน โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน RMF สูงสุดอยู่ในกลุ่ม Equity Large-Cap รวม 8.1 หมื่นล้านบาท
ด้าน กองทุน SSF และ SSFX มีมูลค่าทรัพย์สิน 2.9 หมื่นล้านบาท (รวม 159 กองทุน) เพิ่มขึ้น 42.6% จากสิ้นปี 63 โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงสุดอยู่ในกลุ่ม Equity Large-Cap ที่ระดับ 1 หมื่นล้านบาท
สำหรับ LTF แม้จะไม่มีการเปิดขายแล้วแต่มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นตามมูลค่าการลงทุนที่ฟื้นตัวจากหุ้นไทย โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 5.7% อยู่ที่ 3.67 แสนล้านบาท จากกองทุนจำนวน 93 กอง
*** เปิดโผ TOP10 กองทุน SSF-SSFX ผลตอบแทน 23 - 50%
สำหรับกองทุน SSF และ SSFX ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่
TOP 10 กองทุน SSF-SSFX ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ละช่วงเวลา
|
Fund Code
|
บลจ.
|
%YTD
|
Fund Code
|
บลจ.
|
% 1Y
|
TSF-SSF
|
ทิสโก้
|
30.4
|
LHSMARTDSSF-SSFX
|
แลนด์ แอนด์ เฮาส์
|
49.6
|
ASP-SME-SSFX
|
แอสเซทพลัส
|
28.9
|
LHSMARTDSSF-SSF
|
แลนด์ แอนด์ เฮาส์
|
49.4
|
ASP-SME-SSF
|
แอสเซทพลัส
|
28.9
|
TEG-SSF
|
ทิสโก้
|
44.7
|
TISCOMS-SSF
|
ทิสโก้
|
27.4
|
TEG-SSFX
|
ทิสโก้
|
44.7
|
LHSMARTDSSF-SSFX
|
แลนด์ แอนด์ เฮาส์
|
27.1
|
KKP ACT EQ-SSF
|
เกียรตินาคินภัทร
|
43
|
LHSMARTDSSF-SSF
|
แลนด์ แอนด์ เฮาส์
|
26.9
|
SCBLT2-SSF
|
ไทยพาณิชย์
|
42.3
|
SCBS&P500-SSF
|
ไทยพาณิชย์
|
24.3
|
KKP TECH-H-SSF
|
เกียรตินาคินภัทร
|
41.2
|
X-SEQS-DSSF
|
เอ็กซ์สปริง
|
23.6
|
SCBS&P500-SSF
|
ไทยพาณิชย์
|
41
|
X-SEQS-ASSF
|
เอ็กซ์สปริง
|
23.6
|
SCBEQ-SSFX
|
ไทยพาณิชย์
|
40.3
|
KKP TECH-H-SSF
|
เกียรตินาคินภัทร
|
22.8
|
MTF-SSF
|
เอ็มเอฟซี
|
38.8
|
ที่มา : มอร์นิ่งสตาร์ ข้อมูล ณ 5 พ.ย.64
|
ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีถึง 5 พ.ย.64 (YTD) ของ 10 อันดับแรกอยู่ที่ 22.8 - 30.4% โดยกองทุน TSF-SSF ของ บลจ.ทิสโก้ ให้ผลตอบแทนสูงสุด ขณะที่ บลจ.แอสเซทพลัส, บลจ.แลนด์ แอนด์เฮาส์ และ บลจ.เอ็กซ์สปริง ติดโผ 10 อันดับแรกทั้งกองทุน SSF และ SSFX
ด้านผลตอบแทน 1 ปี ของ 10 อันดับแรกอยู่ที่ 38.8 - 49.6% โดยกองทุน SSF และ SSFX ของ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮาส์ ได้ผลตอบแทนสูงสุด ขณะที่ กองทุน SSF และ SSFX ของ บลจ.ไทบยพาณิชย์ติดโผสูงสุด 3 กอง
*** ส่อง TOP10 กองทุน RMF ผลตอบแทน 12 - 71%
ฟากกองทุน RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ตามแต่ละช่วงเวลา ได้แก่
TOP10 กองทุน RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ละช่วงเวลา
|
Fund Code
|
บลจ.
|
%YTD Return
|
Fund Code
|
บลจ.
|
% 1Y Return
|
ASP-VIETRMF
|
แอสเซทพลัส
|
48.1
|
ASP-VIETRMF
|
แอสเซทพลัส
|
71.2
|
B-INDIAMRMF
|
บัวหลวง
|
42.3
|
B-INDIAMRMF
|
บัวหลวง
|
64.2
|
KMSRMF
|
กสิกร
|
35.2
|
KMSRMF
|
กสิกร
|
52.8
|
KFDNMRMF
|
กรุงศรี
|
33.4
|
THDRMF
|
ทิสโก้
|
52
|
KKP GNP RMF-UH
|
เกียรตินาคินภัทร
|
28.1
|
KFDNMRMF
|
กรุงศรี
|
49
|
KFEURORMF
|
กรุงศรี
|
27.3
|
B-INNOTECHRMF
|
บัวหลวง
|
48.8
|
TMSRMF-A
|
ทิสโก้
|
26
|
KKP GNP RMF-UH
|
เกียรตินาคินภัทร
|
47.6
|
KEURMF
|
กสิกร
|
25.4
|
KFEURORMF
|
กรุงศรี
|
45.8
|
KWI ASM RMF
|
คิงไว (เอเชีย)
|
24.6
|
TEGRMF-A
|
ทิสโก้
|
44.9
|
TLEQRMF
|
ทาลิส
|
24.6
|
B-ASEANRMF
|
บัวหลวง
|
44.7
|
|
Fund Code
|
บลจ.
|
% 3Y Return
|
Fund Code
|
บลจ.
|
% 5Y Return
|
KFGTECHRMF
|
กรุงศรี
|
35
|
TMBGQGRMF
|
ทีทีบี
|
15.2
|
B-INNOTECHRMF
|
บัวหลวง
|
28.9
|
TMBUS500RMF
|
ทีทีบี
|
14.8
|
ONE-UGERMF-A
|
วรรณ
|
28.5
|
KEURMF
|
กรุงศรี
|
14.7
|
ASP-ROBOTRMF
|
แอสเซทพลัส
|
23.1
|
TUSRMF
|
ทิสโก้
|
14.7
|
KEURMF
|
กสิกร
|
20.7
|
T-GlobalEQRMF
|
ทีทีบี
|
14.7
|
ASP-DISRUPTRMF
|
แอสเซทพลัส
|
20.5
|
KGHRMF
|
กสิกร
|
13.9
|
KFEURORMF
|
กรุงศรี
|
19.2
|
SCBRMGHC
|
ไทยพาณิชย์
|
13.2
|
B-INDIAMRMF
|
บัวหลวง
|
18.7
|
KT-HEALTHC RMF
|
กรุงไทย
|
13
|
SCBRMPOP
|
ไทยพาณิชย์
|
18.5
|
KFEURORMF
|
กสิกร
|
13
|
TMBGQGRMF
|
ทีทีบี
|
18.1
|
T-HEALTHCARERMF
|
ทีทีบี
|
12.1
|
ที่มา : มอร์นิ่งสตาร์ ข้อมูล ณ 5 พ.ย.64
|
ผลตอบแทนที่ดีที่สุดของกลุ่มนี้คือผลตอบแทนระยะสั้น โดย 10 อันดับแรกผลตอบแทน YTD อยู่ที่ระดับ 24.6 - 48.1% ส่วนผลตอบแทน 1 ปี ของ 10 อันดับแรกสูงถึง 44.7 - 71.2% ซึ่ง ASP-VIETRMF ของ บลจ.แอสเซทพลัส ให้ผลตอบแทนสูงสุดทั้ง 2 ช่วงเวลา
ด้านผลตอบแทนระยะ 3 ปี 10 อันดับแรกอยู่ที่ 18.1 - 35% กองทุน KFGTECHRMF ของ บลจ.กรุงศรี ให้ผลตอบแทนสูงสุด ขณะที่ผลตอบแทนระยะ 5 ปีของ 10 อันดับแรก อยู่ที่ 12.1 - 15.2% โดย TMBGQGRMF ของ ทีทีบี ให้ผลตอบแทนสูงสุด