พบ 16 หุ้นร้อนราคาวิ่งแรงตั้งแต่ต้นปี ส่วนมากเป็นหุ้น mai ถึง 10 บริษัท ตะลึง ZIGA พุ่งสูงสุด 353% ขณะที่มีถึง 8 บจ. ถูก ตลท.กำกับการซื้อขาย ด้านกูรูเตือนเพื่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ชี้เก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
*** พบ 16 บจ. ราคาหุ้น YTD พุ่ง 50 - 353%
ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ตั้งแต่ต้นปี (YTD) ปรับตัวขึ้น 53.96 จุด หรือ 3.25% ส่งผลให้มีหุ้นบริษัทจดทะเบียน (บจ.) จำนวน 16 บริษัท ปรับตัวขึ้นตั้งแต่ 50 - 353% ประกอบด้วย
16 บจ. ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปีพุ่งสูงสุด 50 – 353%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ราคาปิด 17 ก.พ.65 (บ.)
|
%chg YTD
|
ZIGA
|
19.5
|
353
|
HYDRO
|
1.13
|
213
|
CMO
|
12.6
|
123
|
JTS
|
274
|
109
|
PSG
|
1.2
|
106
|
BGT
|
2.5
|
103
|
TRT
|
5.4
|
80
|
INET
|
8.25
|
79
|
MONO
|
2.6
|
72
|
UPA
|
0.63
|
70
|
TPCS
|
25
|
58
|
ARIN
|
3.26
|
57
|
IMH
|
19.3
|
53
|
TBSP
|
34
|
52
|
TC
|
9.15
|
51
|
QLT
|
6.2
|
50
|
ที่มา : SETSMART ณ 17 ก.พ.65
|
*** ZIGA พุ่งสูงสุด 353% หุ้น mai ติดโผเพียบ
16 บจ.ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ถึง 10 บริษัท โดยกลุ่มธุรกิจบริการ และ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ติดโผสูงสุด 3 บริษัท เท่ากัน รองลงมา คือ กลุ่มธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ทรัพยากร ที่ติดโผ จำนวน 2 บริษัท เท่ากัน
โดย บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) เป็นบริษัทที่ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปี ปรับตัวขึ้นสูงสุดถึง 353% รองลงมา คือ บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO) ที่ราคาหุ้น ปรับตัวขึ้น 213%
ขณะที่ มีอีก 4 บริษัท ที่ราคาหุ้นตั้งแต่ต้นปี ปรับตัวขึ้นมากกว่า 100% ประกอบด้วย บมจ.ซีเอ็มโอ (CMO) ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 123%, บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น (JTS) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 109%
ส่วน บมจ.พีเอสจี คอร์ปอเรชั่น (PSG) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 106% และ บมจ.บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น 103%
*** มีถึง 8 ใน 16 บริษัท ถูกควบคุมการซื้อขาย
อย่างไรก็ตาม 16 บริษัทดังกล่าว ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงตั้งแต่ต้นปี มีถึง 8 บริษัท ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ควบคุมการซื้อขาย โดยมี 5 บริษัท ที่ยังอยู่ในช่วงของการถูกกำกับการซื้อขาย
8 บจ. ถูกควบคุมการซื้อขาย
|
ชื่อย่อหุ้น
|
ระดับการควบคุม/วันที่ถูกควบคุม
|
CMO
|
ระดับ 3 (5 - 25 ม.ค.), (3 - 23 ก.พ.)
|
ARIN
|
ระดับ 1 (7 ก.พ.), ระดับ 2 (8 ก.พ.), ระดับ 3 (9 ก.พ. - 1 มี.ค.)
|
MONO
|
ระดับ 1 (10 - 17 ม.ค.), ระดับ 2 (18 ม.ค. - 7 ก.พ.) (8 - 28 ก.พ.)
|
UPA
|
ระดับ 1 (14 ก.พ. - 25 มี.ค.)
|
ZIGA
|
ระดับ 1 (17 ก.พ. - 8 มี.ค.)
|
JTS
|
ระดับ 1 (16 ธ.ค.64 - 5 ม.ค.65), ระดับ 2 (13 ม.ค. - 2 ก.พ.)
|
BGT
|
ระดับ 1 (27 ม.ค. - 15 ก.พ.)
|
PSG
|
ระดับ 1 (5 - 7 ม.ค.), ระดับ 2 (10 ม.ค.)
|
ที่มา : SETSMART ณ 17 ก.พ.65
|
ทั้งนี้ บมจ.ซีเอ็มโอ (CMO) กำลังถูกควบคุมการซื้อขายระดับที่ 3 (ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance) ตั้งแต่ 3 - 23 ก.พ.นี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ CMO ก็ถูกตลท. ใช้มาตรการควบคุมการซื้อขายระดับที่ 3 มาแล้วหนึ่งครั้ง ระหว่าง 5 - 25 ม.ค.ที่ผ่านมา
ขณะที่ บมจ.อรินสิริ แลนด์ (ARIN) กำลังถูกควบคุมการซื้อขายระดับที่ 3 เช่นกัน ระหว่าง 9 ก.พ. - 1 มี.ค.นี้ หลังก่อนหน้านี้ ถูกควบคุมการซื้อขายในระดับที่ 1 (Cash Balance) และ ระดับที่ 2 (ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance) ในวันที่ 7 ก.พ. และ 8 ก.พ. ตามลำดับ
ด้าน บมจ.โมโน เน็กซ์ (MONO) กำลังถูกควบคุมการซื้อขายระดับที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 - 28 ก.พ.นี้ หลังก่อนหน้านี้ ถูกควบคุมการซื้อขายในระดับที่ 1 และ ระดับที่ 2 ในช่วง 10 - 17 ม.ค.ที่ผ่านมา และ 18 ม.ค. - 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ตามลำดับ
ฟาก 2 บริษัท ที่กำลังถูกควบคุมการซื้อขายระดับที่ 1 ครั้งแรก ประกอบด้วย บมจ.ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย (UPA) ระหว่าง 14 ก.พ. - 25 มี.ค. และ บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) ระหว่าง 17 ก.พ. - 8 มี.ค.นี้
ส่วน 3 บริษัท ที่สิ้นสุดมาตรการควบคุมซื้อขายแล้ว ประกอบด้วย บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น (JTS), บมจ.บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) และ บมจ.พีเอสจี คอร์ปอเรชั่น (PSG)
*** กูรูเตือนเพิ่มความระวัง ชี้เก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น
"ณรงค์เดช จันทรไพศาล" นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไอร่า ระบุว่า หากพิจารณาปัจจัยทางพื้นฐานของหุ้นทั้ง 16 บริษัท พบว่าส่วนมากอยู่ในระดับ "Over Value"หมดแล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าลงทุน แต่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการจะเก็งกำไรระยะสั้น ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
เนื่องจากหุ้นกลุ่มดังกล่าว ปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังทางอารมณ์เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะมีแรงขายทำกำไรออกมา ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลงแรง และราคาหุ้นจะวิ่งกลับสู่พื้นฐานเดิม ดังนั้น นักลงทุนควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับบริษัทที่สนใจเข้าเก็งกำไรอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอดีตควบคู่กันด้วย เพื่อจำกัดความเสี่ยงให้ลดลง
ส่วน"เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส เสริมว่า แนะนำนักลงทุนพิจารณาผลประกอบการของทั้ง 16 บริษัทก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน หากบริษัทใดที่ไม่มีผลประกอบการเติบโตรองรับ แต่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาในระดับสูง จะยิ่งทำให้ระดับ P/E (Price/Earnings Per Share) ปรับตัวขึ้นสูงตามด้วยเช่นกัน ดังนั้น ในแง่การลงทุนสามารถทำได้เพียงแค่เก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น