กระแสการเข้าแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) กลับมาอีกครั้งหลัง โดยปีนี้ประกาศไปแล้วถึง 3 บริษัท นำโดยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE) ตามมาด้วย 2 ธุรกิจสายการบิน บมจ.การบินไทย (THAI) และ บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) ถือเป็นความเสี่ยงร้ายแรงต่อผู้ถือหุ้น เพราะหากฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จมีโอกาสถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจสถิติ บจ.ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าแผนฟื้นฟูฯ ในช่วง 5 ปีหลัง (2558-2563) พบว่า ส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จ และถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์
*** 5 ปีหลังถูกตะเพิดถึง 13 บริษัท
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เผยว่า ตั้งแต่ปี 58 ถึงปัจจุบัน มีบริษัทที่ฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จและถูกเพิกถอนฯ ไปแล้วถึง 13 บริษัท ประกอบด้วย
บจ.ที่ฟื้นฟูฯ ไม่สำเร็จและถูกเพิกถอนระหว่างปี 58-63
|
บริษัท
|
วันที่ถูกเพิกถอน
|
นลท.รายย่อย (ราย)
|
บมจ.เคเทค คอนสตรัคชั่น (KTECH)
|
19/08/63
|
2,881
|
บมจ.ริช เอเชีย คอร์ปอเรชั่น (RICH)
|
19/08/63
|
7,198
|
บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI)
|
11/07/63
|
17,203
|
บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ (EARTH)
|
20/09/62
|
6,949
|
บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง (IEC)
|
10/07/63
|
27,170
|
บมจ.แอล.วี.เทคโนโลยี (LVT)
|
10/07/63
|
3,414
|
บมจ.ยานภัณฑ์ (YNE)
|
10/07/63
|
2,518
|
บมจ.สแกนโกลบอล (SCAN)
|
29/09/59
|
682
|
บมจ.เอสเอ็มซี พาวเวอร์ (SMC)
|
29/09/59
|
1,062
|
บมจ.ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (TRS)
|
29/09/59
|
290
|
บมจ.ทีทีแอนด์ที (TT&T)
|
29/09/59
|
12,122
|
บมจ.แอสคอน คอนสตรัคชั่น (ASCON)
|
26/11/58
|
614
|
บมจ.สิงห์ พาราเทค (SINGHA)
|
26/11/58
|
1,952
|
ปีนี้มี บจ.ที่ฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จและถูกเพิกถอนถึง 6 บริษัท สูงสุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ทั้ง 13 บริษัท มีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมถึง 8.4 หมื่นราย ซึ่ง บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง (IEC) มีผู้ถือหุ้นรายย่อยมากสุด 2.7 หมื่นราย
*** 12 บจ.ตบเท้าเข้าแผนฟื้นฟูฯ ช่วงปี 58-63
ขณะที่พบว่าตั้งแต่ต้นปี 58 ถึงปัจจุบันมี 12 บจ.เข้าแผนฟื้นฟูฯ ประกอบด้วย
บจ.ที่เข้าแผนฟื้นฟูฯ ระหว่างปี 58-63
|
บริษัท
|
วันที่ยื่นแผนฯ
|
บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL)
|
09/04/58
|
บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI)
|
01/10/58
|
บมจ.พีเออี (ประเทศไทย) (PAE)
|
27/11/58
|
บมจ.แอล.วี.เทคโนโลยี (LVT)
|
07/03/60
|
บมจ.ริช เอเชีย คอร์ปอเรชั่น (RICH)
|
06/03/60
|
บมจ.โพลาริส แคปปิตัล (POLAR)
|
09/05/60
|
บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ (EARTH)
|
24/07/60
|
บมจ.จี สตีล (GSTEEL)
|
14/11/60
|
บมจ.อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC)
|
25/08/61
|
บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE)
|
30/04/63
|
บมจ.การบินไทย (THAI)
|
26/05/63
|
บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK)
|
30/07/63
|
*** มีเพียง 6 บจ.ที่ฟื้นฟูฯ สำเร็จและได้กลับมาเทรด
ขณะเดียวกันช่วง 5 ปีหลัง มีเพียง 6 บริษัทที่สามารถฟื้นฟูกินการได้สำเร็จและกลับมาซื้อขายได้ ประกอบด้วย
บจ.ที่ฟื้นฟูฯ สำเร็จและกลับเข้ามาซื้อขายได้แล้ว
|
บริษัท
|
วันที่กลับเข้าซื้อขาย
|
ปีที่เข้าแผนฟื้นฟูฯ
|
บมจ.เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ (ABICO)
|
9/02/58
|
2549
|
บมจ.บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น (BIG)
|
3/03/58
|
2551
|
บมจ.พัฒน์กล (PK)
|
28/07/58
|
2553
|
บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ (APEX)
|
27/03/60
|
2543
|
บมจ.ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ (WP)
|
1/02/61
|
2557
|
บมจ.เอ็นเอฟซี (NFC)
|
15/06/61
|
2546
|
ทั้งนี้ บจ.ที่ได้กลับมาซื้อขาย มีค่าเฉลี่ยการฟื้นฟูกิจการถึง 9.5 ปี โดยนานสุดคือ บมจ.เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ (APEX) ใช้เวลาถึง 17 ปี เร็วสุดคือ บมจ.ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ (WP) ใช้เวลา 4 ปี
*** 15 บจ.รออยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ รายย่อย 2 แสนรายรอคอยความหวัง
ปัจจุบันมี 15 บจ.ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ประกอบด้วย
บจ.ที่อยู่ระหว่างทำแผนฟืนฟูฯ
|
บริษัท
|
ปีที่เข้าฟื้นฟูฯ
|
สถานะ
|
นลท.รายย่อย (ราย)
|
บมจ.เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ (KC)
|
2560
|
ออกจากแผนฟื้นฟูฯ แล้ว
|
2,732
|
บมจ.ทุ่งคาฮาเบอร์ (THL)
|
2554
|
ออกจากแผนฟื้นฟูฯ แล้ว
|
3,564
|
บมจ.เวิลด์ คอร์ปอเรชั่น (WORLD)
|
2549
|
ออกจากแผนฟื้นฟูฯ แล้ว
|
780
|
บมจ.วีรีเทล (WR)
|
2549
|
ออกจากแผนฟื้นฟูฯ แล้ว
|
871
|
บมจ.บมจ.จี สตีล (GSTEEL)
|
2560
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
9,181
|
บมจ.อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น (IFEC)
|
2561
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
27,170
|
บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น (PACE)
|
2563
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
5,100
|
บมจ.พีเออี (ประเทศไทย) (PAE)
|
2559
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
12,931
|
บมจ.พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ (PE)
|
2563
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
2,477
|
บมจ.โพลาริส แคปปิตัล (POLAR)
|
2560
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
11,523
|
บมจ.ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง (STHAI)
|
2556
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
1,207
|
บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์ (TSF)
|
2562
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
8,910
|
บมจ.เวนเจอร์ อินคอร์ปอเรชั่น (VI)
|
2549
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
1,524
|
บมจ.การบินไทย (THAI)
|
2563
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
106,958
|
บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK)
|
2563
|
อยู่ระหว่างฟื้นฟูฯ
|
7,654
|
ทั้งนี้มี 4 บจ.ฟื้นฟูกิจการสำเร็จแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพัฒนาธุรกิจให้มีคุณสมบัติครบเพื่อให้กลับมาซื้อขายได้
ขณะที่ 15 บจ.ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการมีนักลงทุนรายย่อยถือหุ้นรวมถึง 2 แสนราย สูงสุดคือ บมจ.การบินไทย (THAI) อยุ่ที่ระดับ 1 แสนราย
ขณะเดียวกัน ปัจจุบัน บมจ.การบินไทย (THAI) และ บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) ยังสามารถซื้อขายได้
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลท. ระบุว่า บจ.ที่เข้าแผนฟื้นฟูฯ แต่ยังซื้อขายได้ เพราะยังปฏิบัติหน้าที่ของ บจ.คือการเปิดเผยข้อมูล เช่น งบการเงิน ข้อมูลสำคัญที่มีผลต่อราคาหุ้น มติที่ประชุมกรรมการบริษัท มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน โดยตลาดหลักทรัพย์จะขึ้นเรื่องหมาย C กำกับไว้ เพื่อเตือนให้นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวัง
ส่วนเครื่องหมาย SP จะเกิดขึ้นเมื่อ บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลตามหน้าที่ เช่น งบการเงินหรือข้อมูลสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการเข้าสู่เหตุเพิกถอนเพราะส่วนทุนติดลบ
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า บจ.ที่ฟื้นฟูฯ สำเร็จแล้ว บริษัทไหนจะได้กลับมาซื้อขายช่วงใด
*** บิ๊กตลาดทุน ระบุ โอกาสรอดไม่ถึง 50%
“ไพบูลย์ นลินทรางกูร” ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO), นายกสมาคมนักวิเคราะห์ลงทุน และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ ระบุ นักลงทุนต้องระมัดระวังการลงทุนหุ้นกลุ่มนี้ เนื่องจากสถิติตั้งแต่ปี 40 มี บจ.เข้าแผนฟื้นฟูฯ กว่า 52 บริษัท ซึ่งมีบริษัทที่ฟื้นฟูฯ สำเร็จเพียง 23 บริษัท หรือ 44% ขณะที่ใช้เวลาเฉลี่ยฟื้นฟูฯ นานถึง 7 ปี โดยมี 20 บริษัท หรือ 38% ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว
ทั้งนี้ การเข้าแผนฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องเจ็บปวดของผู้ถือหุ้น เพราะโดยหลักการทั่วไปแล้วจะต้องดำเนินการลดทุน ตัดส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมเพื่อรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นจึงจะมีการเจรจากับเจ้าหนี้ ทั้งเรื่องแนวทางการฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนั้นมูลค่าของธุรกิจจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจนแทบจะไม่มีค่าเลย นักลงทุนต้องระมัดระวัง
"แม้การลงทุนในหุ้นที่ขอฟื้นฟูกิจการในอดีตจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงมากหากสามารถฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จ แต่ก็แฝงด้วยความเสี่ยงที่สูงมากเช่นกัน ทั้งในแง่ของการสูญเสียเงินลงทุนไปทั้งหมด และมีระยะเวลาการลงทุนที่ไม่แน่นอน ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงสูงมากได้เท่านั้น และนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบ"