โควิด-19 พ่นพิษ! ดูดสภาพคล่องบจ. "อีไฟแนนซ์ไทย"สำรวจข้อมูล 3 เดือนหลังสุด พบว่า บจ.ประกาศเพิ่มทุนถึง 15 บริษัท มูลค่าระดมทุนรวมไม่ต่ำกว่า 3.5 พันล้านบาท เกินครึ่งหนี้สินเริ่มตึงตัว กู้ลำบาก พบ 3 บจ.ใหญ่ หาเงินหลากช่องทาง ด้านกลุ่ม บจ.ซื้อหุ้นคืนแสนฝืด ทำสำเร็จเพียง 6 จาก 41 บริษัท ยกเลิกแผนไปแล้ว 2 บริษัท ยังไม่ได้ซื้อถึง 17 บริษัท วงการคาดส่อพับแผน ตุนเงินสดไว้หมุนธุรกิจดีกว่า
*** 3 เดือน บจ.แห่เพิ่ม มูลค่ารวมไม่ต่ำ 3.5 พันลบ.
ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 15 บริษัท มูลค่าการระดมทุนรวมไม่ต่ำกว่า 3,492 ล้านบาท (เฉพาะที่กำหนดราคาหุ้นเพิ่มทุนแล้ว) โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การเพิ่มทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องด้านการเงินของบริษัท แบ่งเป็นการเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์จำนวน 8 บริษัท ได้แก่
8 บจ.เพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
ราคา (บ.)
|
รูปแบบเพิ่มทุน
|
วัตถุประสงค์
|
มูลค่า (ลบ.)
|
THANI
|
1,888
|
1
|
RO
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
1,888
|
VNG
|
224
|
3.75
|
RO
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
839
|
AEC
|
3,061
|
0.1
|
RO
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
306
|
UREKA
|
254
|
0.8
|
RO
|
ลงทุน-คืนหนี้
|
203
|
CPT
|
224
|
0.65
|
PP
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
146
|
HYDRO
|
785
|
0.14
|
RO
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
110
|
KWG
|
1,714
|
N/A
|
RO
|
ลงทุน
|
N/A
|
MINT
|
716
|
N/A
|
RO
|
เพิ่มสภาพคล่อง
|
N/A
|
ขณะเดียวกันมี 7 บจ.ขอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อขอเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate) ซึ่งเกือบทั้งหมดระบุในวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสภาพคล่อง ประกอบด้วย
7 บจ.เพิ่มทุนแบบ General Mandate
|
ชื่อย่อหุ้น
|
จำนวนหุ้น (ล.หุ้น)
|
รูปแบบเพิ่มทุน
|
วัตถุประสงค์
|
PORT
|
364
|
RO-PP-PO
|
รองรับสภาพคล่อง
|
CPT
|
270
|
RO-PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
SIRI
|
1,400
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
ECF
|
95
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
BTS
|
1,100
|
PP
|
รองรับสภาพคล่อง
|
MBK
|
500
|
RO
|
N/A
|
META
|
383
|
RO
|
N/A
|
*** วงการชี้ส่วนใหญ่หนี้สูง ศักยภาพการกู้เริ่มจำกัด
"ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ" รองกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ประเมินว่า กลุ่มบริษัทที่ประกาศเพิ่มทุนช่วงนี้ส่วนใหญ่มักจะมีความตึงตัวด้านอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) โดยไม่ควรเกิน 1.5 เท่า เพราะจะส่งผลต่อศักยภาพในการกู้ ประกอบกับในช่วงภาวะที่ไม่ปกติจากการระบาดของโควิด-19 สถาบันการเงินจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่วนหุ้นกู้ก็อาจจะเป็นจังหวะที่ไม่ดี สะท้อนจากการขายไม่หมดของหลาย บจ.ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นการเพิ่มทุนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดและมีจุดเด่นคือไม่สร้างภาระต้นทุนการเงินเพิ่ม
ด้าน "สุวภา เจริญยิ่ง" อุปนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย เปิดเผยว่า จากวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลให้แต่ละอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถยืนระยะผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ภาระต้นทุนทางการเงินสูง และจำเป็นต้องหากระแสเงินสดเข้ามาใช้หมุนเวียนในกิจการ ซึ่งการกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือการออกหุ้นกู้จะส่งผลให้ D/E ของบริษัทปรับเพิ่มสูงขึ้น จึงหันมาจัดการกับส่วนทุนมากขึ้นผ่านการเพิ่มทุน
“แม้ปัจจุบันดอกเบี้ยถูกก็ตาม หรือต่อให้สภาพคล่องยังมีอยู่ แต่กิจการก็อาจจะรับภาระหนี้สินต่อไปไม่ไหวแล้ว ซึ่งการเพิ่มทุนนอกจากจะเปรียบเสมือนถังออกซิเจน ที่ต่อเวลาหายใจให้ธุรกิจ และการเพิ่มส่วนทุนเป็นการควบคุม D/E ให้ลดลงได้ โดยจะส่งผลให้โอกาสที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในอนาคตเพิ่มขึ้นด้วย” สุวภา กล่าว
ขณะที่ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" สำรวจข้อมูล บจ.ที่ประกาศเพิ่มทุนข้างต้นพบว่า มีถึง 8 บริษัทอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (Interest-Bearing Debt) เกิน 1.5 เท่า ประกอบด้วย
8 บจ.เตรียมเพิ่มทุนที่มี IBD/E เกิน 1.5 เท่า
|
ชื่อย่อหุ้น
|
IBD/E (เท่า)
|
MINT
|
3.31
|
SIRI
|
2.41
|
BTS
|
1.81
|
VNG
|
1.7
|
PORT
|
1.65
|
MBK
|
1.64
|
KWG
|
1.56
|
ECF
|
1.53
|
*** MINT-SIRI-BTS เตรียมระดมทุนหลากช่องทาง
ทั้งนี้ พบว่า มี บจ.ขนาดใหญ่เตรียมระดมทุนเพื่อรองรับสภาพคล่องหลากหลายช่องทาง ได้แก่ 1.บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ซึ่งได้ประกาสเพิ่มทุน 716 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (RO) โดยยังไม่ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน
พร้อมกันนี้เตรียมออกหุ้นกู้เพิ่มเติมมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวจะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond) ซึ่งยังไม่ระบุจำนวนที่แน่นอน
2.บมจ.แสนสิริ (SIRI) ขออนุมัติผู้ถือหุ้นขอเพิ่มทุนแบบ General Mandate จำนวน 1,400 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1.07 บาท โดยจะเสนอขายให้กับบุคคลในวงจำกัด (PP) ซึ่งยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาเสนอขาย
ขณะเดียวกันเตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์มูลค่าไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 22-25 มิ.ย.นี้
พร้อมกันนี้ช่วงต้นเดือนได้นำหุ้นที่ซื้อคืนเมื่อปีก่อนจำนวน 720 ล้านหุ้น มูลค่า 933 ล้านบาท ออกมาขายคืนในตลาด แม้ราคาล่าสุดจะต่ำกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อ โดยขายครบหมดทั้ง 720 ล้านหุ้น มีราคาขายเฉลี่ยสูงสุดที่ 0.90 บาท ต่ำสุดที่ 0.87 บาท ทั้งที่มีต้นทุนซื้อคืนเฉลี่ยต่ำสุด 1.30 บาท สูงสุด 1.32 บาท ซึ่งอาจจะขาดทุนเฉลี่ยระดับ 46-49%
3.บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ขออนุมัติผู้ถือหุ้นขอเพิ่มทุนแบบ General Mandate จำนวน 1,100 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 4 บาท ขายให้กับบุคคลในวงจำกัด
พร้อมทั้งขออนุมัติผู้ถือหุ้นเพิ่มวงเงินการออกหุ้นกู้อีก 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่มีวงเงินอยู่แล้ว 3 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับสภาพคล่อง, การลงทุน และการชำระหนี้
*** บจ.ส่อพับแผนซื้อหุ้นคืน ตุนเงินสด พบสถิติสุดฝืด
ประเด็นการบริหารสภาพคล่องยังไม่หมดเพียงการระดมทุนเท่านั้น โดยล่าสุดพบว่า แผนการซื้อหุ้นคืนของ บจ.มีอัตราความสำเร็จต่ำ แม้ตลาดหุ้นไทยจะลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบกว่า 9 ปี ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมี บจ.ประกาศซื้อหุ้นคืนรวมทั้งสิ้น 41 บริษัท ปรากฎว่ามี บจ.ที่ซื้อหุ้นคืนสำเร็จมากกว่า 90% เพียง 6 บริษัทเท่านั้น ขณะที่มีถึง 17 บจ.ที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นคืนเลย โดยอัตราการซื้อหุ้นคืนสำเร็จตามประกาศอยู่ระดับเฉลี่ยเพียง 19%
"วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ระดับความสำเร็จต่ำของการซื้อหุ้น เนื่องจาก บจ.ต้องการสำรองเงินสดไว้หนุนสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจมากกว่า และมีโอกาสเห็นการยกเลิกแผนการซื้อหุ้นคืนได้ โดยเฉพาะกลุ่ม บจ.ขนาดกลาง-เล็ก
"หุ้นที่ซื้อคืนสำเร็จส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่วนกลุ่มที่ประกาศช่วงหุ้นปรับตัวลงแรงกลับมีอัตราการซื้อคืนไม่ถึง 20% ทั้งที่ราคาหุ้นลงไปจนต้นทุนต่ำ จนตอนนี้ตลาดรีบาวด์กลับมาแล้ว จึงไม่ใช่จักงหวะที่ดีในการเข้าซื้อ กลายเป็นว่า story ของตลาดไม่เหมาะที่จะซื้อหุ้นคืนแล้ว สู้เก็บเงินสดไว้เลี้ยงธุรกิจดีกว่า" นักวิเคราะห์ กล่าว
ด้าน "กิจพณ ไพรไพศาลกิจ" ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) มองว่า ภาวะตลาดในปัจจุบันไม่เหมาะกับการซื้อหุ้นคืน เนื่องจากจะส่งผลต่อต้นทุน ขณะเดียวกันเริ่มเห็นสัญญาณการขาดสภาพคล่องของหลายธุรกิจ จึงชะลอแผนการซื้อหุ้นคืนเพื่อสำรองเงินสดหมุนเวียนในกิจการจะเหมาะสมกว่า
*** เปิดโผ 6 บจ.ซื้อหุ้นคืนเกิน 90%
สำหรับ บจ.ที่ซื้อหุ้นคืนสำเร็จเกิน 90% ประกอบด้วย
6 บจ.ซื้อหุ้นคืนเกิน 90%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
วงเงิน (ลบ.)
|
เป้า (ล.หุ้น)
|
%สัดส่วน
|
ช่วงเวลาซื้อ
|
หุ้นซื้อคืน (ล.หุ้น)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
KBANK
|
4,600
|
24
|
1
|
14 ก.พ.- 27 ก.พ.
|
24
|
3,208
|
TPIPL
|
800
|
384
|
2
|
14 ก.พ.- 13 ส.ค.
|
384
|
453
|
GIFT
|
210
|
70
|
16.96
|
20 เม.ย.- 29 เม.ย.
|
70
|
210
|
DRT
|
517
|
94
|
9.92
|
20 เม.ย.- 8 พ.ค.
|
93
|
511
|
SPALI
|
3,000
|
200
|
9.33
|
12 ก.พ.- 11 ส.ค.
|
193
|
2,976
|
WP
|
50
|
10
|
2
|
8 เม.ย.- 7 ต.ค.
|
9
|
41
|
ส่วน บจ.ที่ซื้อหุ้นคืนบ้างแล้วแต่ต่ำกว่า 90% ได้แก่
16 บจ.ซื้อหุ้นคืนต่ำกว่า 90%
|
ชื่อย่อหุ้น
|
วงเงิน (ลบ.)
|
เป้า (ล.หุ้น)
|
%สัดส่วน
|
ช่วงเวลาซื้อ
|
หุ้นซื้อคืน (ล.หุ้น)
|
มูลค่า (ลบ.)
|
THG
|
280
|
10
|
1.2
|
21 เม.ย.- 20 ก.ย.
|
3
|
59
|
APURE
|
61
|
90
|
9.39
|
20 เม.ย.- 19 ต.ค.
|
22
|
45
|
ZIGA
|
30
|
52
|
10
|
10 เม.ย.- 9 ต.ค.
|
12
|
14
|
CPN
|
5,000
|
77
|
1.7
|
6 มี.ค.- 5 ก.ย.
|
17
|
761
|
TSR
|
10
|
10
|
1.82
|
14 เม.ย.- 14 ต.ค.
|
1.6
|
3
|
STPI
|
1,000
|
162
|
10
|
3 เม.ย.- 2 ต.ค.
|
23
|
108
|
CK
|
3,000
|
169
|
10
|
2 มี.ค.- 1 ก.ย.
|
22
|
413
|
RWI
|
70
|
64
|
10
|
29 พ.ค.- 28 พ.ย.
|
7.6
|
10
|
CPF
|
10,000
|
400
|
4.65
|
1 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
36
|
1,080
|
ILINK
|
200
|
40
|
7.36
|
23 เม.ย.- 22 ต.ค.
|
3
|
10
|
TU
|
3,000
|
200
|
4.19
|
1 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
13
|
165
|
SCP
|
98.55
|
15
|
5
|
31 มี.ค.- 29 ก.ย.
|
0.66
|
3.3
|
PM
|
300
|
60
|
10
|
22 พ.ค.- 21 พ.ย.
|
2
|
15
|
SPC
|
500
|
10
|
3
|
1 มิ.ย.- 30 พ.ย.
|
0.2
|
12
|
BPP
|
2,500
|
122
|
4
|
11 มี.ค.- 4 ก.ย.
|
1.45
|
16
|
BLAND
|
2,085
|
1,737
|
10
|
19 มี.ค.- 18 ก.ย.
|
15
|
12
|
*** 17 บจ.ยังไม่ได้ซื้อหุ้นคืน
ด้าน บจ.ที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นคืน 17 บริษัท ประกอบด้วย
17 บจ.ยังไม่ได้ซื้อหุ้นคืนตามแผน
|
ชื่อย่อหุ้น
|
วงเงิน (ลบ.)
|
เป้า (ล.หุ้น)
|
%สัดส่วน
|
ช่วงเวลาซื้อ
|
CPALL
|
13,000
|
180
|
2
|
1 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
TRUE
|
1,500
|
500
|
1.5
|
14 เม.ย.- 13 ต.ค.
|
GUNKUL
|
1,100
|
440
|
5
|
1 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
SGP
|
1,000
|
91
|
5
|
27 มี.ค.- 26 ก.ย.
|
LPN
|
500
|
126
|
8.54
|
5 มิ.ย.- 4 ธ.ค.
|
SKR
|
330
|
75
|
3.75
|
20 เม.ย.- 19 ต.ค.
|
TFG
|
150
|
38
|
0.68
|
30 มี.ค.- 29 ก.ย.
|
SAPPE
|
150
|
7.5
|
2.46
|
1 ก.ค.- 30 ธ.ค.
|
XO
|
135
|
38
|
9
|
2 เม.ย.- 1 ต.ค.
|
ASEFA
|
120
|
35
|
6.36
|
21 พ.ค.- 20 พ.ย.
|
TKN
|
100
|
20
|
1.45
|
10 เม.ย.- 9 ต.ค.
|
BA
|
90
|
24
|
1.14
|
1 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
TACC
|
50
|
18
|
3
|
8 เม.ย.- 7 ต.ค.
|
III
|
50
|
10
|
1.64
|
27 พ.ค.- 26 พ.ย.
|
GENCO
|
45
|
112
|
10
|
10 เม.ย.- 9 ต.ค.
|
EKH
|
30
|
60
|
10
|
3 เม.ย.- 2 ต.ค.
|
PJW
|
23
|
20
|
3.5
|
7 เม.ย.- 30 ก.ย.
|
*** 3 บจ.ยกเลิกซื้อหุ้นคืน-ลดวงเงิน
ขณะที่มี 2 บจ.ได้ประกาศยกเลิกแผนการซื้อหุ้นคืนไปแล้ว เพื่อสำรองสภาพคล่อง ประกอบด้วย 1.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งประกาศซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 136 ล้านหุ้น สัดส่วน 4% วงเงินรวมไม่เกิน 1.6 หมื่นล้านบาท
2.บมจ.เอสพีซีจี (SPCG) ประกาศซื้อหุ้นคืน 14 ล้านหุ้น สัดส่วน 1.44% วงเงินรวมไม่เกิน 250 ล้านบาท
นอกจากนี้ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ประกาศลดเป้าหมายการซื้อหุ้นคืน เหลือไม่เกิน 11 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.2% วงเงินรวมไม่เกิน 45 ล้านบาท จากเดิมตั้งเป้าซื้อหุ้นคืน 38 ล้านหุ้น สัดส่วน 0.68% วงเงินรวม 150 ล้านบาท