บจ.ไทยหนี้สินต่อทุน(D/E)พุ่งสูงสุดรอบกว่า 10 ปี พบ 76 บริษัทมีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยเกิน 2 เท่า หุ้นบิ๊กแคปติดโผเพียบ รับผลกระทบมาตรฐานบัญชีใหม่ ตะลึง 29 บริษัท หนี้สูง-สภาพคล่องเริ่มตึงตัว ด้านตลท.มองสถานะการเงินบจ.พ้นจุดต่ำสุดแล้ว เหตุธุรกิจเริ่มฟื้นต้วจากโควิด ด้านกูรูแนะเลี่ยงเก็งกำไรกลุ่มสภาพคล่องฝืด
*** บจ.หนี้พุ่งในรอบกว่า 10 ปี
"แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ข้อมูลฐานะการเงินบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไม่รวมกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน ปี 2563 มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เฉลี่ย 1.58 เท่า เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่ระดับ 1.35 เท่า หรือเป็นระดับสูงสุดรอบกว่า 10 ปี
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ บจ.ไทย มีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อผลการดำเนินงานและสภาพคล่อง ทำให้มีความต้องการสำรองเงินทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับมาตรฐานบัญชีใหม่ที่เริ่มใช้ช่วงต้นปี 63 ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า สิ้นปี 63 มีถึง 76 บจ.มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (IBD/E) เกิน 2 เท่า สูงสุดในรอบกว่า 10 ปี เช่นกัน โดยปี 59-62 มี บจ.ที่ IBD/E เกิน 2 เท่าอยู่ที่ 45 บริษัท, 41 บริษัท, 55 บริษัท และ 66 บริษัท ตามลำดับ
*** พบหุ้นบิ๊กแคปหนี้พุ่ง เฉลี่ย 100% รับผลกระทบมาตรฐานบัญชีใหม่
ทั้งนี้ พบว่า กลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) เกิน 1 หมื่นล้านบาท ติดโผ บจ.ที่มี IBD/E เกิน 2 เท่า เพิ่มขึ้่นเป็น 23 บริษัท จากปี 62 ที่มีเพียง 14 บริษัท ประกอบด้วย
23 หุ้นบิ๊กแคปที่อัตรส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (IBD/E) เกิน 2 เท่า
|
ชื่อย่อหุ้น
|
IBD/E (เท่า)
|
%chg YoY
|
มาร์เก็ตแคป
|
JAS
|
22.75
|
960
|
24,575
|
CENTEL
|
2.27
|
278
|
44,550
|
PTG
|
3.78
|
154
|
34,736
|
TRUE
|
4.86
|
131
|
110,115
|
ERW
|
4.44
|
127
|
11,077
|
MINT
|
3.55
|
127
|
157,046
|
AAV
|
3.25
|
112
|
13,386
|
CPALL
|
3.26
|
86
|
606,359
|
ESSO
|
2.77
|
71
|
30,109
|
BAFS
|
2.06
|
68
|
17,850
|
SINGER
|
2.09
|
60
|
17,979
|
STARK
|
3.47
|
53
|
50,721
|
BANPU
|
2.85
|
38
|
55,313
|
S
|
2.23
|
37
|
13,365
|
BGRIM
|
2.93
|
31
|
121,221
|
ADVANC
|
2.39
|
24
|
506,991
|
SUPER
|
2.42
|
24
|
26,255
|
JMART
|
4.85
|
19
|
34,200
|
SSP
|
2.67
|
14
|
14,475
|
GULF
|
2.34
|
10
|
401,860
|
DTAC
|
4.95
|
10
|
78,730
|
GUNKUL
|
2.42
|
-2
|
27,891
|
NOBLE
|
2.06
|
-24
|
11,229
|
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
|
จากตารางหุ้นกลุ่มพลังงานติดโผสูงสุด 9 บริษัท รองลงมาคือกลุ่ม เทคโนโลยีสารสนเทศและการ จำนวน 5 บริษัท โดยมีหุ้นมาร์เก็ตแคปเกิน 1 แสนล้านบาท ถึง 8 บริษัท เพิ่มขึ้นจากปี 62 ที่มีเพียง 4 บริษัท
ขณะที่พบว่า IBD/E หุ้นกลุ่มนี้เพิ่้มขึ้นจากปี 62 เฉลี่ยถึง 100% โดยมีเพียง 2 บริษัทหนี้สินลดลง ส่วนที่เหลือเพิ่มขึ้นระดับ 7 - 960% ซึ่งมีถึง 7 บริษัทที่ IBD/E เพิ่มขึ้นมากกว่า 100%
บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 22.75 เท่า จากปี 62 ที่เพียง 2.15 เท่า หรือเพิ่มขึ้น 960%
ด้าน บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) เป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูงสุดในกลุ่มนี้ระดับ 6 แสนล้านบาท โดยมี IBD/E ที่ 3.26 เท่า
ทั้งนี้ส่วนใหญ่หุ้นในกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากมาตรฐานบัญชีใหม่ที่เริ่มใช้ต้นปี 63 ประกอบด้วย มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (TFRS9) และ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 (TFRS16)
โดยเฉพาะ TFRS16 ที่เกี่ยวกับ "สัญญาเช่า" ซึ่้งผู้เช่าต้องรับรู้สินทรัพย์และหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเช่าทุกสัญญาที่มีอายุเกิน 1 ปีเข้ามาในงบการเงิน ส่งผลให้ต้องรับรู้สินทรัพย์และหนี้สินเพิ่มขึ้น มีผลต่อเนื่องถึงอัตราส่วนทางการเงินและความสามารถในการทำกำไรระยะสั้นที่อาจลดลง
อย่างไรก็ตาม TFRS16 จะไม่กระทบต่อกระแสเงินสดจริงที่บริษัทต้องจ่ายออกไปในแต่ละปี แต่จะมีผลต่ออัตราส่วนทางการเงินที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสัญญาเช่าดำเนินงานจำนวนมาก อาทิ กลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร, การบิน, สื่อสิ่งพิมพ์,สื่อสาร, ค้าปลีก, อสังหาฯ, เกษตร-อาหาร, นิคมอุสาหกรรม และ พลังงาน
ขณะเดียวกัน บจ.จะเปลี่ยนการรับรู้ "ค่าเช่า" ในงบกำไรขาดทุนตามมาตรฐานบัญชีเดิม มาเป็น การรับรู้ค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่าย ตามอายุสัญญาคงเหลือ โดยจะกระทบต่องบกำไรขาดทุนในช่วงปีแรก ๆ และจะลดลงตามสัญญาเช่า
นอกจากนี้ TFRS16 จำทำให้บริษัทมี EBITDA สูงขึ้น เนื่องจากค่าเช่าที่เคยถูกบันทึกใน SG&A จะเปลี่ยนเป็นค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายแทน ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ใน EBITDA
*** ตะลึง 29 บจ.หนี้สูง-สภาพคล่องเริ่มตึงตัว
ขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจ บจ.ที่มีหนี้สูงและสภาพคล่องต่ำ โดยคัดกรองจากบริษัทที่มี IBD/E เกิน 2 เท่า, อัตราส่วนสภาพคล่องต่ำกว่า 1 เท่า,อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ต่ำกว่า 1 เท่า และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยต่ำกว่า 1 เท่า พบว่ามีทั้งสิ้น 29 บริษัท ประกอบด้วย
29 บจ.หนี้สูง-สภาพคล่องต่ำ
|
ชื่อย่อหุ้น
|
อัตราส่วนฐานะการเงิน
|
IBD/E (เท่า)
|
สภาพคล่อง (เท่า)
|
ความสามารถชำระหนี้ (เท่า)
|
ความสามารถชำระดอกเบี้ย (เท่า)
|
HYDRO
|
81.29
|
0.81
|
-0.47
|
-4.87
|
PPPM
|
19.96
|
0.2
|
-0.09
|
-2.88
|
JCKH
|
17.11
|
0.18
|
0.15
|
-3.92
|
JUTHA
|
14.22
|
0.11
|
0
|
-3.49
|
CHOW
|
11.01
|
0.92
|
0.03
|
-0.82
|
ACAP
|
9.28
|
0.1
|
-0.11
|
-343.24
|
NMG
|
8.63
|
0.45
|
-0.01
|
-3.72
|
SDC
|
8.23
|
0.56
|
0.09
|
-0.3
|
TRC
|
5.78
|
0.89
|
-0.14
|
-18.92
|
M-CHAI
|
4.93
|
0.26
|
0.17
|
0.02
|
ITD
|
4.81
|
0.84
|
0.14
|
0.71
|
KKC
|
4.74
|
0.53
|
-0.01
|
-2.12
|
ERW
|
4.44
|
0.7
|
-0.1
|
-2.39
|
DTC
|
3.98
|
0.48
|
0.07
|
-1.5
|
CGD
|
3.53
|
0.67
|
0.02
|
0.54
|
MALEE
|
3.49
|
0.6
|
0.05
|
-2.79
|
BC
|
3.41
|
0.71
|
-0.46
|
-2.1
|
AAV
|
3.25
|
0.15
|
-0.07
|
-4.18
|
GRAND
|
3.01
|
0.7
|
-0.06
|
-1.35
|
ESSO
|
2.77
|
0.65
|
-0.23
|
-26.85
|
SOLAR
|
2.77
|
0.3
|
-0.72
|
-9.86
|
KWG
|
2.45
|
0.78
|
-0.08
|
-3.51
|
UMS
|
2.43
|
0.47
|
0
|
-1.24
|
KBS
|
2.31
|
0.57
|
0.09
|
-2.08
|
IT
|
2.28
|
0.86
|
0.37
|
-0.09
|
EFORL
|
2.26
|
0.52
|
-0.36
|
-9.12
|
TRUBB
|
2.18
|
0.47
|
0.07
|
0.45
|
MILL
|
2.09
|
0.64
|
0.05
|
0.42
|
CHO
|
2.07
|
0.81
|
-0.02
|
-0.65
|
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
|
29 บจ.ข้างต้นเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 21 บริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 8 บริษัท
บมจ.ไฮโดรเท็ค (HYDRO) มี IBD/E สูงสุดถึง 81.29 เท่า โดยมีอัตราส่วนสภาพคล่อง 0.81 เท่า, อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ -0.47 เท่า ต่ำสุดในกลุ่มนี้ และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย -4.87 เท่า
ด้าน บมจ.เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป (ACAP) มีอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ยต่ำสุดถึง -343.24 เท่า โดยมี IBD/E ระดับ 9.28 เท่า, อัตราส่วนสภาพคล่อง 0.1 เท่า และ อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ 0.11 เท่า
*** วงการชี้เลี่ยงกลุ่มหนี้สูง-ผลประกอบการขาลง
"วิจิตร อารยะพิศิษฐ" ผู้อำนวยการนักกลยุทธ์การลงทุนฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะนำว่า ให้ระมัดระวังการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ เพราะหลายบริษัทผลประกอบการยังอยู่ในช่วงขาลง ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจอาจจะยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไปอีกระยะ
“หุ้นที่หนี้สูงมาก ๆ และสภาพคล่องต่ำ มักไม่ค่อยน่าลงทุนอยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลประกอบการยังอยู่ในช่วงขาลง นักลงทุนต้องระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ โดยเฉพาะการเข้าไปเก็งกำไรควรหลีกเลี่ยง"
ด้าน "ณัฐชาต เมฆมาสิน" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ มองว่า บริษัทที่มีหนี้สูงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ดูหน้าเป็นห่วงมากนัก หากความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตยังดี มีสภาพคล่องเพียงพอ และธุรกิจยังมีการเติบโต
แต่ต้องระวังกลุ่มหุ้นที่มีหนี้สูง แต่สภาพคล่องต่ำ และทิศทางธุรกิจไม่สดใส โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดทุนต่อเนื่อง เพราะอาจจะส่งผลต่อกระแสเงินสดในการนำมาชำระหนี้ได้
อย่างไรก็ตาม "แมนพงศ์ เสนาณรงค์" รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประเมินว่า กลุ่ม บจ.ที่มีหนี้สูงสภาพคล่องต่ำ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยหากมีข้อมูลที่อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นจะต้องชี้แจงให้นักลงทุนทราบทันที
แต่ในภาพรวมยังไม่น่ากังวลมากนัก เพราะมองว่าหลายธุรกิจผ่านจุดต่ำสุดจากโควิด-19 ไปแล้วช่วงไตรมาส 2/63 สะท้อนจากผลประกอบการครึ่งหลังปี 63 ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และ บจ.ส่วนใหญ่ปรับกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้วิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) มากขึ้น
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลงบการเงินจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มิได้มีเจตน่าชี้นำว่าบริษัทข้างต้นจะผิดชำระหนี้แต่อย่างใด
สูตรการคำนวณอัตราส่วนฐานะการเงิน :
1.อัตราส่วนหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (IBD/E) คำนวณจาก = (รวมหนี้สินหมุนเวียน - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น + หนี้สินระยะยาวสุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี) / รวมส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท --- ค่านี้ยิ่งต่ำยิ่งดี
2.อัตราส่วนสภาพคล่อง : วัดความสามารถใช้คืนหนี้ระยะสั้น คำนวณจาก = รวมสินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน --- ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี
3.อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ : วัดความสามารถการชำระหนี้ คำนวณจาก = (กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนการเงินและภาษีเงินได้ต้นทุนการเงิน + ค่าเสื่อมราคาและค่าจัดจำน่าย ) (12 เดือน) / (รวมหนี้สินหมุนเวียน - เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น) --- ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี
4.อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย : วัดความสามารถชำระดอกเบี้ยเงินกู้ โดยวิเคราะห์จากค่ากำไรจากการเนินงานต่อดอกเบี้ยจ่าย คำนวณจาก = กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนการเงินและภาษีเงินได้ / ต้นทุนการเงิน --- ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดี